Search
Close this search box.

เตือนวัยทำงาน 7 พฤติกรรมเสี่ยงกลุ่มโรค NCDs

พฤติกรรมเสี่ยงโรค NCDs (Non-Communicable Diseases) เป็นพฤติกรรมที่อาจส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรค NCDs ซึ่งรวมถึงโรคหัวใจ, เบาหวาน, มะเร็ง, ความดันโลหิตสูง และโรคระบบทางเดินหายใจ ในบทความนี้แอดมินได้รวบรวมเอาพฤติกรรมเสี่ยงที่วัยทำงานอย่างเราๆ ควรระวัง ดังนี้เลย

  1. บริโภคอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ การบริโภคอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลและไขมันสูง และทานผักผลไม้ที่น้อยอาจเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และโรคหัวใจ 
  2. การสูบบุหรี่ สูบบุหรี่เป็นสาเหตุของหลายโรค NCDs เช่น มะเร็งปอดและโรคระบบทางเดินหายใจ
  3. การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ, มะเร็ง, โรคไขมันพอกตับ และอื่น ๆ
  1. ขาดการออกกำลังกาย การนั่งทำงานนานๆ โดยไม่มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อาจทำให้ร่างกายอ่อนแอ กล้ามเนื้อหดหาย น้ำหนักเพิ่ม และยิ่งทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคทางเลือด โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน
  2. ความเครียด เมื่อเกิดความเครียดมากๆ จนสะสม สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง
  1. นอนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ ขาดการนอนส่งผลให้ เรารู้สึกอ่อนเพลียง่าย เหนื่อยง่าย อารมณ์แปรปรวน สมาธิลดน้อยลง และอาจเสี่ยงต่อโรคหัวใจและเบาหวาน
  2. มลพิษ การสัมผัสมลพิษอากาศหรือสิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษสามารถเสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ และอาจสะสมจนเกิดเป็นโรคมะเร็งได้ค่ะ

การระมัดระวังและปรับพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อโรค NCDs เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อสร้างพื้นฐานสุขภาพที่แข็งแรงและป้องกันการเจ็บป่วยในอนาคตได้ค่ะ

Recent Blog Posts

Log in to your account