ช่วงเวลาตั้งครรภ์คือช่วงเวลาพิเศษในชีวิตของผู้หญิง ในทางคุณค่าทางโภชนาการแม่ตั้งครรภ์ไม่ใช่แค่ต้องรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนเหมาะสมเพื่อบำรุงร่างกายให้แข็งแรงเพื่อทารกที่กำลังเจริญเติบโตในครรภ์เท่านั้น
แต่ต้องดูแลสภาพจิตใจคำนึงถึงความต้องการของทารกในครรภ์ที่กำลังเจริญเติบโตและมีพัฒนาการต่อเนื่อง
คุณควรคำนึงถึงโภชนาการอาหารสำหรับคนตั้งครรภ์ที่พึงปฏิบัติตาม โดยทั่วไปแล้วคุณควรยึดมั่นในหลักการพื้นฐานที่ทุกคนยึดถือเพื่อสุขภาพที่ดี เช่นหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปให้ได้มากที่สุด ทานโปรตีนที่ไร้ไขมัน รับประทานผักและผลไม้ให้เพียงพอ
อย่างไรก็ตามยังคงมีสารอาหารบางอย่างที่คุณควรได้รับ เช่น โฟเลต เหล็ก วิตามิน D แคลเซียม กรดไขมันโอเมก้า 3 ไอโอดีน และโปรตีน
หากคุณบริโภคอาหารที่เน้นพืชเป็นหลัก การได้รับสารอาหารที่เพียงพอ เช่น โปรตีนไร้ไขมันและธาตุเหล็กอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย Nuzest Pea Protein ให้โปรตีนจากพืชในระดับพรีเมียม 18-21 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 25 กรัม คุณยังได้รับธาตุเหล็กจากแหล่งธรรมชาติอีกด้วย
หัวข้อเนื้อหา
- ความต้องการของโปรตีนและแคลอรี่ในไตรมาสที่ตั้งครรภ์
- ความสำคัญของการออกกำลังกายในระหว่างและหลังการตั้งครรภ์
- Nuzest Pea Protein มีความปลอดภัยหรือไม่กับมารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร
- โภชนาการหลังคลอด
ความต้องการของโปรตีนและแคลอรี่ในไตรมาสที่ตั้งครรภ์
ความต้องการสารอาหารหลัก แคลอรี่ และโปรตีนมีปริมาณเพิ่มขึ้นตลอดระยะการตั้งครรภ์ ดังนั้นความต้องการสารอาหารมีการเปลี่ยนแปลงตามแต่ละไตรมาสที่ตั้งครรภ์ สถานการณ์ของมารดาที่ตั้งครรภ์อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามแต่ละบุคคล ดังนั้นแนะนำให้มีการปรึกษาขอคำแนะนำเกี่ยวกับปริมาณสารอาหารและโภชนาการที่ร่างกายต้องการจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีกฎทั่วไปสองสามข้อที่สามารถปฏิบัติตามได้และเป็นข้อพึงปฎิบัติที่ดีในการได้รับปริมาณสารอาหารในระดับที่เหมาะสมในแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์
ไตรมาสแรก
เป้าหมายของการได้รับโปรตีนอยู่ที่ประมาณ 0.8 กรัม/น้ำหนักตัว 1 ก.ก ก่อนการตั้งครรภ์ องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้เพิ่มโปรตีนและอาหารที่เน้นให้พลังงานตลอดช่วงระยะเวลาของการตั้งครรภ์
ไตรมาสที่สอง
ในไตรมาสที่ 2 นี้ คุณควรเริ่มที่จะเพิ่มปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับต่อวันให้ถึง 300 แคลอรี่โดยประมาณ เป้าหมายของการได้รับโปรตีนในไตรมาสนี้ควรอยู่ระหว่าง 20 และ 25% ของแคลอรี่ที่บริโภคในแต่ละวัน
ไตรมาสที่สาม
ในไตรมาสนี้ การได้รับโปรตีน ธาตุเหล็ก แคลเซียมและสารอาหารอื่นๆ ควรจะได้รับมากที่สุด โดยเฉพาะโปรตีนควรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และจะเป็นการดีที่สุดที่ควรได้รับโปรตีนคุณภาพในทุกมื้ออาหารและของว่าง
ปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับตลอดการตั้งครรภ์
- โฟเลต 400 – 800 ไมโครกรัมต่อวัน
- แคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
- วิตามิน D 600 หน่วยสากล (IU) ต่อวัน
- ธาตุเหล็ก 27 มิลลิกรัมต่อวัน
- DHA 300 มิลลิกรัม จากกรดไขมันโอเมก้า 3
ความสำคัญของการออกกำลังกายในระหว่างและหลังการตั้งครรภ์
การออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตของคุณทำงานได้ดีในการลำเลียงออกซิเจนในเลือดไปยังทารกในครรภ์ ขัดขวางการเพิ่มน้ำหนักโดยไม่จำเป็น เตรียมความพร้อมของร่างกายในการคลอดบุตร และยังคงมีเหตุผลอื่นๆ ที่สนับสนุนการออกกำลังกายระหว่างการตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่สำคัญ คือ
- ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- เพิ่มพลังงานและช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น
- ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น
- บรรเทาอาการปวดเมื่อยและเจ็บปวดทั่วไป
- ช่วยลดอาการบวมและท้องอืด
- ช่วยแก้ปัญหาเรื่องท้องผูก
สมาคมการตั้งครรภ์อเมริกันแนะนำว่ามารดาที่ตั้งครรภ์ควรออกกำลังกาย 30 นาทีมากที่สุดหรือตลอดทั้งวัน และยังแนะนำว่าออกกำลังกาย 20 นาที 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ก็ได้ผลดีเช่นกัน แต่มีการออกกำลังกายบางประเภทที่ควรหลีกเลี่ยงระหว่างการตั้งครรภ์เพราะท่าทางในการออกกำลังกายอาจเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ได้ เช่น
- ออกกำลังกายในที่ร้อนหรือมีสภาพอากาศชื้น
- กีฬาที่มีการปะทะกัน
- ออกกำลังกายในท่าที่เสี่ยงต่อการล้ม
- ออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงโดยปราศจากการอบอุ่นร่างกายหรือการผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย
- การออกกำลังกายที่เกี่ยวกับการกลั้นหายใจ
การออกกำลังกายหลังคลอดช่วยให้ร่างกายของคุณกลับมาสู่ภาวะปกติได้เร็วขึ้นและยังช่วยให้ลดน้ำหนักส่วนเกินในช่วงที่ตั้งครรภ์ได้ไวขึ้น อย่างไรก็ตามควรทำการตรวจร่างกายหลังคลอด 6 สัปดาห์ก่อนที่คุณจะกลับไปออกกำลังกายอย่างอื่นได้มากกว่าการเดินและการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
อย่างไรก็ตามการปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการวางแผนการออกกำลังกายถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเสมอ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณวางแผนที่จะเริ่มการออกกำลังกายแบบใหม่ในระหว่างและหลังการตั้งครรภ์หรือหากมีอาการแทรกซ้อนใดๆ
ความปลอดภัยของมารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรในการรับประทานโปรตีนจากถั่วลันเตา
โปรตีนจากถั่วลันเตาโดยทั่วไปแล้วถือว่ามีความปลอดภัยต่อมารดาที่อยู่ในระหว่างและหลังตั้งครรภ์เมื่อเริ่มที่จะให้นมบุตร นอกจากนี้ยังช่วยให้ร่างกายได้รับโปรตีนที่จำเป็นเพิ่มเติมบางส่วนและร่างกายของทารกก็ต้องการโปรตีนมากขึ้นในระหว่างนี้เช่นกัน
ในสถานการณ์ของแต่ละคนอาจแตกต่างกันและเป็นการดีที่สุดถ้าได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนได้รับอาหารเสริมระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรเพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าคุณได้รับโปรตีนที่เหมาะสมกับร่างกายและลูกน้อยรวมถึงโปรตีนจากพืชด้วย
โภชนาการหลังการตั้งครรภ์
โภชนาการหลังการตั้งครรภ์มีความสำคัญเท่าๆ กับในขณะตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณอยู่ในกระบวนการพักฟื้นและการรักษา การคงความกระฉับกระเฉงในการดูแลลูกน้อยแรกคลอดเป็นเรื่องยากหากขาดโภชนาการที่ร่างกายต้องการอย่างแท้จริง ในทำนองเดียวกัน หากคุณอยู่ในช่วงระหว่างการให้นมบุตรคุณมีความจำเป็นต้องบำรุงและดูแลทั้งสองส่วนให้ดีกับสิ่งที่คุณรับประทาน ดังนั้นสารอาหารที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
คุณแม่มือใหม่ควรได้รับประทานให้ได้วันละ 1,800 ถึง 2,200 แคลอรี่ ส่วนคุณแม่ที่ให้นมบุตรควรรับประทานให้ได้มากขึ้นอีก 500 แคลอรี่ และควรตั้งเป้าโปรตีนเสริมที่ 25 กรัมต่อวัน
โปรตีนกับการตั้งครรภ์ควรเป็นของคู่กันเพราะโปรตีนเป็นส่วนสำคัญของการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ การวิจัยระบุว่ามารดาที่ได้รับโปรตีนน้อยในขณะตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักของทารกแรกเกิดที่น้อยลง และมีแนวโน้มในการดื้อต่ออินซูลินในเวลาต่อมา หากคุณปฏิบัติตามโดยการทานอาหารที่เน้นพืชเป็นหลักและพยายามบริโภคโปรตีนให้เพียงพอ การทาน Nuzest Pea Protein เป็นประจำทุกวันจะเป็นการเติมเต็มโปรตีนที่ขาดให้สมบูรณ์ได้
Nuzest Pea Protein คือโปรตีนทางเลือกจากธรรมชาติ 100% ทำจากถั่วลันเตายุโรปสีทอง รสอร่อย ทานง่าย ท้องไม่อืด ไม่เฟ้อ ไม่มีลมในท้อง Nuzest มีค่า pH. อยู่ที่ 7.8 (ด่างอ่อนๆ) ทำให้สบายท้อง ไม่เพิ่มความเป็นกรดในร่างกาย สามารถดื่มตอนท้องว่างได้ มีค่าดัชนีการดูดซึมอยู่ที่ 98% เพราะมีการสกัดเอา Phytate/Lectin ออก
ถั่วลันเตายุโรปของ Nuzest มีการสกัดด้วยน้ำในโรงงานที่เบลเยี่ยม บรรจุและผลิตที่ Melbourne ออสเตรเลีย ปลอดภัย แม้กับแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร
- โปรตีนสูง ไขมันต่ำ
- ไม่เติมน้ำตาล แต่ใช้โปรตีนรสหวานจากผลคาเทมเฟ่แทน
- ไม่ผสมถั่วเหลือง
- ไม่มีนมวัว
- ไม่ใช่พืช GMO
- ไม่มีสารกันเสีย
- มังสวิรัติ วีแกนทานได้
- เหมาะกับสายลีน เพราะโปรตีนสูง ไขมันต่ำ คอเลสเตอรอล 0%