Search
Close this search box.
งานวิจัยเผย ! ‘ผู้สูงอายุ’ เสี่ยงอ่อนแรง ‘เสียชีวิตผ่อนส่ง’ หากขาดโปรตีน

งานวิจัยเผย ! ‘ผู้สูงอายุ’ เสี่ยงอ่อนแรง ‘เสียชีวิตผ่อนส่ง’ หากขาดโปรตีน

บางทีเราอาจจะคิดไม่ถึงใช่ไหมคะ

แค่กิน “โปรตีน” ไม่พอ มันเรื่องใหญ่ขนาดนี้เลยเหรอ ?

มีงานวิจัยจากประเทศออสเตรเลีย เรื่อง “ข้อแนะนำและความต้องการโปรตีนในผู้สูงอายุ (2015)” โดย  Caryl Nowson และ Stella O’Connell ให้ข้อมูลว่า สำหรับผู้สูงอายุนั้น หากได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ นอกจากจะเป็นสาเหตุการเสียชีวิตแล้ว ยังเป็นอุปสรรคต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุด้วย ทั้งด้านการเคลื่อนไหว ภูมิคุ้มกัน ความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา ฯลฯ

และถ้าอยากรู้ว่า ‘ขาดโปรตีน’ เกี่ยวกับการ “เสียชีวิตผ่อนส่ง” ยังไง ต้องอ่านค่ะ…


1. แค่ขาดโปรตีน…ก็เป็นสาเหตุการ ‘เสียชีวิต’ ได้

บางคนอาจจะรู้สึกแบบ เฮ้ย…เว่อร์หรือเปล่า แค่คนแก่ขาดโปรตีน ก็ถึงกับตายเลยเนี่ยนะ ?

การขาดโปรตีนและมวลกล้ามเนื้อที่ลดน้อยลงมาก ๆ ไม่ได้ทำให้เสียชีวิตแบบฉับพลันทันทีค่ะ

แต่จะค่อย ๆ แสดงอาการแบบ “น้ำเซาะตลิ่ง”

โดยการค่อย ๆ ทำให้ร่างกายนี้ติดเชื้อง่ายขึ้น ภูมิคุ้มกันต่ำลง สภาพร่างกายแย่ลง ๆ

แล้วในที่สุดตลิ่งก็พังครืนลงมา เช่นเดียวกับการเสียชีวิตจากการขาดโปรตีน ที่มันค่อย ๆ เกิดขึ้นมานานแล้ว

แต่เราไม่ได้สังเกตมันเท่านั้นเองค่ะ


2. ยิ่งสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ ยิ่งเคลื่อนไหวได้น้อยลง

สังเกตไหมคะ ผู้สูงอายุบางคนนี่เดินคล่องปร๋อ แต่บางคนอ่อนแรงจนแทบเดินไม่ไหว

อย่าโทษแค่ว่าเดินไม่ไหวเพราะ “กระดูกไม่ดี”

แต่ มองข้าม อีกหนึ่งสิ่งที่พยุงให้ร่างกายเราเดิน นั่ง นอน เคลื่อนไหวได้

ซึ่งก็คือ “มวลกล้ามเนื้อ” นี่แหละค่ะ

งานวิจัยนี้ ได้ทำการทดลองให้ผู้สูงอายุรับประทานโปรตีน ‘เพิ่มขึ้น’

จาก 1 กรัม เป็น 1.3 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น คุณยาย A หนัก 50 กิโลกรัม จากเดิมคุณยายกินโปรตีนแค่วันละ 50 กรัม ก็จัดเต็ม ‘เพิ่มโปรตีน’ ให้คุณยายหม่ำไปเลย 65 กรัมต่อวัน

ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 2 สัปดาห์ พบว่า เมื่อผู้สูงอายุได้รับโปรตีนเพิ่มขึ้นแล้ว…

– ผู้สูงอายุสามารถเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น

– กล้ามเนื้อขาแข็งแรงขึ้น

– ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ดังนั้น ใครว่าคนแก่ต้องกินผักเยอะ ๆ นั้น อาจจะต้องคิดใหม่

เพราะมื้ออาหารที่สำคัญของผู้สูงอายุจำเป็นมาก ๆ

ที่จะต้องมีตัวช่วยอย่าง “โปรตีน” เข้าไปเสริมสร้างดูแลค่ะ


3. ง่าย ๆ ไม่ยาก ถ้ามันขาดก็แค่ “เพิ่ม” โปรตีนเท่านั้นเอง

เรื่องการให้ผู้สูงอายุ “รับประทานโปรตีนเพิ่มขึ้น” เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายนั้น

งานวิจัยด้านการบริโภคโปรตีนและสุขภาพกล้ามเนื้อในวัยผู้สูงอายุ (2016) นำโดย Landi F, Calvani R สรุปได้ว่า

“ผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับโปรตีนมากขึ้น เพื่อเป็นการรักษาสุขภาพกล้ามเนื้อให้ยังคงทำหน้าที่ของมันได้แม้ในวัยชรา”

ดังนั้น ไม่มีอะไรซับซ้อนค่ะ เมื่อร่างกายต้องการโปรตีนมากขึ้น เราก็สรรหาโปรตีนดี ๆ ให้ผู้สูงอายุที่เรารักมารับประทานในปริมาณที่ “มากขึ้น”ทั้งนี้ ต้องควบคู่กับการออกกำลังกาย และดูแลร่างกายจิตใจให้สดใสสดชื่นอยู่เสมอด้วยนะคะ


คำคมนี้เพื่อคุณ

มีคำคมฝรั่งที่ไปอ่านเจอแล้วรู้สึกว่าน่ารักมากมายค่ะ เขาบอกว่า…

The best feeling in the world, is to know that your parents are smiling because of you.

ความรู้สึกที่ดีที่สุดในโลก คือ ตอนที่รู้ว่าพ่อแม่กำลังยิ้มเพราะคุณ”

มาถึงวันนี้ พ่อแม่ปู่ย่าตายายรอบ ๆ ตัวเราอายุมากขึ้น แข็งแรงน้อยลง รอยยิ้มของพวกเขาไม่ได้มาจากที่ไหน แต่มาจากการดูแลใส่ใจของเรา ที่สามารถเติมเต็มให้เขาได้ในทุก ๆ วันค่ะ 🙂

…แต่ช้าก่อน…

หลังได้อ่านบทความนี้แล้ว อย่าเพิ่งรีบไปเหมานมสด เหมาเนื้อทั้งแผงไปฝากผู้สูงอายุที่บ้านนะคะ

จริงอยู่ว่าโปรตีนอยู่ในเนื้อ นม ไข่

แต่อย่าลืมว่า บางครั้งผู้สูงอายุที่เรารัก ก็มี ‘ข้อจำกัดทางร่างกาย’ ที่ร่วงโรยไปตามวัย

ฟันที่เคยแข็งแรง…ก็อาจเคี้ยวเนื้อได้ไม่ถนัด

นมที่เคยดื่มได้…ก็อาจดื่มแล้วท้องไส้แปรปรวน

การเลือกสรร ‘โปรตีนดื่มได้’ ไปฝากท่าน

เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่นูเซสต์ ‘อยากฝากไว้ในอ้อมใจ’ ของคุณค่ะ

ยิ่งถ้าผู้สูงวัยที่คุณรักนั้น…

– แพ้นมวัว ไม่ต้องห่วงค่ะ… นูเซสต์เป็นโปรตีนจากพืช สกัดจากถั่วลันเตายุโรปสีทอง ไม่มีส่วนผสมจากนมผงเลยแม้แต่นิดเดียว

– ต้องควบคุมน้ำตาล ยิ่งดีใหญ่ เพราะนูเซสต์ไม่เติมน้ำตาลสังเคราะห์ แต่ให้ความหวานจากสารธอร์มาทิน ซึ่งสกัดจากผลคาเทมเฟ่ โปรตีนรสหวานสัญชาติแอฟริกัน

– แพ้สารกันบูด แพ้สารเติมเต็ม ยิ่งสบายใจได้ เพราะ 2 สิ่งที่กล่าวมานั้น เราไม่ใส่เลยสักอย่างค่ะ

ขอบพระคุณที่อ่านจนจบ 🙂

ฝากติดต่อและติดตามช่องทางต่าง ๆ ของนูเซสต์ด้วยนะคะ

— Nuzest Thailand —


References:

Protein Requirements and Recommendations for Older People: A Review (2015)

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4555150/

Protein Intake and Muscle Health in Old Age: From Biological Plausibility to Clinical Evidence (2016)

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4882708/

Recent Blog Posts

Log in to your account